เมอร์เซเดส-เบนซ์ ขยายเครือข่ายการบริการหลังการขายแบบครบวงจรสำหรับรถกลุ่ม AMG ทุกรุ่น
เพิ่มความสะดวกสบายด้วยศูนย์บริการถึง 40 แห่งทั่วประเทศ
บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความพร้อมในการขยายเครือข่ายการให้บริการหลัง การขาย (After-Sales Service) สำหรับรถยนต์สมรรถนะสูงจากแบรนด์เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี (Mercedes-AMG) ทุกรุ่น จากเดิมที่สามารถเข้ารับบริการได้ที่ผู้จำหน่ายเมอร์เซเดส-เอเอ็มจี จำนวน 15 แห่ง ปัจจุบัน ลูกค้าสามารถนำรถยนต์มาเข้ารับการบริการหลังการขายแบบครบวงจรได้ที่ศูนย์บริการ เมอร์เซเดส-เบนซ์ 40 แห่งทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นศูนย์บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 22 แห่ง และพื้นที่ต่างจังหวัดจำนวน 18 แห่ง ทั้งนี้ ทางเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้มีการฝึกอบรมทีมงานและช่างผู้เชี่ยวชาญสำหรับการดูแลรถในกลุ่ม AMG โดยเฉพาะ เพื่อยกระดับการให้บริการและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าคนพิเศษทุกคน รวมถึงการบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยมตามมาตรฐานเมอร์เซเดส-เบนซ์ Mercedes-AMG เป็นรถยนต์สมรรถนะสูงที่ผสานความสมบูรณ์แบบของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เข้ากับขีดสุดของการพัฒนาขุมพลังที่มาพร้อมประสิทธิภาพในการขับขี่ที่เหนือชั้น แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญและความล้ำสมัยในด้านวิศวกรรมที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นสุดยอดยนตรกรรมตามแบบฉบับ “The AMG DNA” โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ทั้งในด้านของระบบการขับขี่ พลังในการขับเคลื่อน คุณภาพของเสียง และการออกแบบที่พิถีพิถันในปัจจุบัน รถยนต์ภายใต้แบรนด์เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยจำนวน 6 รุ่น ได้แก่ Mercedes-AMG GLA 35 4MATIC, Mercedes-AMG GLC 43 4MATIC Coupé, Mercedes-AMG GLE 53 4MATIC Coupé และ Mercedes-AMG CLS 53 4MATIC+ , Mercedes-AMG G 63 รวมไปถึงรถสปอร์ตโรดสเตอร์ในตำนานอย่าง Mercedes-AMG SL 43 โดยสามารถติดต่อผ่านผู้จำหน่าย เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี อย่างเป็นทางการทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ
ตามรายชื่อผู้จำหน่ายฯ ดังนี้
1. บริษัท สตาร์แฟลก จำกัด
2. บริษัท บีเคเค ออโตเฮาส์ กาญจนาภิเษก จำกัด
3. บริษัท ธนบุรีพานิช จำกัด (สาขา ลุมพินี)
4. บริษัท เบนซ์ ราชครู จำกัด
5. บริษัท ไพรม์มัส ออโต้เฮาส์ จำกัด
6. บริษัท ทีทีซี มอเตอร์ จำกัด
7. บริษัท เบนซ์ บีเคเค วิภาวดี จำกัด
8. บริษัท เบนซ์ภูเก็ต จำกัด
9. บริษัท เบนซ์ ตลิ่งชัน จำกัด
10. บริษัท ทีทีซี มอเตอร์ อุบลราชธานี จำกัด
11. บริษัท ที เอส ที เมอร์เซเดส เบนซ์ จำกัด
12. บริษัท เมโทร ออโต้เฮ้าส์ จำกัด
13. บริษัท เบนซ์ บีเคเค กรุ๊ป จำกัด
14. บริษัท แอทต้า ออโต้เฮ้าส์ จำกัด
15. บริษัท ไพรม์มัส ออโต้เฮาส์ พัทยา จำกัดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการบริการหลังการขายของรถยนต์เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี ได้ที่ศูนย์บริการเมอร์เซเดส-เบนซ์ อย่างเป็นทางการทั่วประเทศ หรือผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars/services/maintenance.html นัดหมายเข้ารับบริการออนไลน์ได้ที่ http://mb4.me/TH_OAB ทั้งนี้ เงื่อนไขให้เป็นไปตามที่บริษัทฯ และศูนย์บริการเมอร์เซเดส-เบนซ์ อย่างเป็นทางการกำหนด###
เกี่ยวกับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจีเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี เป็นผู้รับผิดชอบธุรกิจทั่วโลกของรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และรถตู้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 172,000 คนทั่วโลก โดยมี โอล่า คัลเลนเนียส เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนา ผลิต และจำหน่ายรถยนต์ รถตู้ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ นอกจากนั้น ยังมีเจตนารมณ์ในการเป็นผู้นำของโลกในด้านยานยนต์ไฟฟ้าและซอฟต์แวร์รถยนต์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทประกอบด้วยแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และแบรนด์ย่อย เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เมอร์เซเดส-มายบัค เมอร์เซเดส-อีคิว จี-คลาส และแบรนด์สมาร์ท โดยแบรนด์เมอร์-เซเดส มีนำเสนอการเข้าถึงบริการด้านดิจิทัลจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั้งนี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์โดยสารระดับลักชัวรีรายใหญ่ที่สุดของโลก ในปี 2564 บริษัทฯ จำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลราว 1.9 ล้านคัน และรถตู้เกือบ 386,200 คัน เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี ขยายเครือข่ายการผลิตใน 2 กลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยมีฐานการผลิตราว 35 แห่งใน 4 ทวีป ควบคู่ไปกับแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการในด้านยานยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกัน บริษัทได้พัฒนาเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ของตัวเองทั่วโลกใน 3 ทวีป การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนล้วนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อกลยุทธ์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์และต่อบริษัท สำหรับเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี ความยั่งยืนหมายถึงการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในระยะยาว ทั้งลูกค้า พนักงาน นักลงทุน พันธมิตรทางธุรกิจ และสังคมโดยรวม โดยอาศัยพื้นฐานของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของกลุ่ม เมอร์เซเดส-เบนซ์ กรุ๊ป ซึ่งมุ่งรับผิดชอบต่อผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และสังคม จากกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท และให้ความสำคัญต่อห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม