สเปซ-เอฟ เปิดรับสมัครสตาร์ทอัพ เข้าร่วมโครงการปีที่ 4
เดินหน้าสานฝันต่อยอดนวัตกรรมอาหารระดับโลก
7 สตาร์อัพ ในประเภทบ่มเพาะธุรกิจ เทคโนโลยีอาหาร นำเสนอผลงานในวัน Demo Day กรุงเทพ – 13 ธันวาคม 2565 – สเปซ-เอฟ โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย เปิดรับสมัครสตาร์ทอัพจากทั่วโลกเข้าร่วมในโครงการเป็นปีที่ 4 โดยสตาร์ทอัพที่สนใจสามารถส่งใบสมัครได้ภายในวันที่ 23 ธันวาคม 2565
สตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการในปีที่ 4 นี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ โครงการบ่มเพาะ ซึ่งมีระยะเวลา 6 เดือน และโครงการเร่งการเติบโตทางธุรกิจ มีระยะเวลา 4 เดือน ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางโครงการสเปซ-เอฟได้จัดงาน Demo Day แสดงผลงานของสตาร์อัพในประเภทโครงการบ่มเพาะในปีที่ 3 จำนวน 7 บริษัทด้วยกันดร.คริสโตเฟอร์ ออแรนด์ หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมแบบเปิด บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดร.คริสโตเฟอร์ ออแรนด์ หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมแบบเปิด บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เราตื่นเต้นที่จะได้คัดเลือกสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการในปี 2566 นี้ นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับบรรดาสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ในด้านเทคโนโลยีอาหารที่มีความสนใจที่จะเริ่มตั้งต้นในประเทศไทยและเอเชีย เพราะจะได้ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมและหน่วยงานวิจัยต่างๆ เหมือนกับทุกๆ รุ่นที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนจะช่วยในเรื่องการลงทุนและความร่วมมือต่างๆ ให้กับสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมในโครงการนี้”
สเปซ-เอฟ เป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และยังเป็นแกนในการรวบรวมความร่วมมือระหว่างสตาร์อัพเทคโนโลยีอาหารและบริษัทชั้นนำเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนวัตกรรม ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และต่อยอดเครือข่ายทางธุรกิจ และที่สำคัญ สเปซ-เอฟจะไม่มีการเข้าถือหุ้นใดๆ ในสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือก โครงการนี้ก่อตั้งโดย บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และดีลอยท์ประเทศไทย โดยโครงการในปีที่ 4 นี้ ขับเคลื่อนโดย RISE ที่มีความเชี่ยวชาญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสตาร์ทอัพเพื่อการเติบโตด้านธุรกิจ
บริษัทสตาร์ทอัพที่สนใจสามารถสมัครได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
F6S: https://lnkd.in/gg9Rn4RD
Google Form: https://lnkd.in/gTfxZJ3x
.
ข้อมูลเพิ่มเติม:
เกี่ยวกับโครงการ: https://bit.ly/3fhKMHo
เว็บไซต์: https://www.space-f.co/
อีเมล์: contact@space-f.co
ปิดรับสมัครวันที่ 23 ธันวาคม 2565 และประกาศผลเดือนมกราคม 2566###
เกี่ยวกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)ภารกิจของ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) คือการสนับสนุนและพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศไทย ทั้งในด้านการปรับปรุงและการริเริ่ม เพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน NIA ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศโดยการร่วมสร้าง เครือข่าย อุปถัมภ์ และร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ จากหลากหลายสาขา เช่น วิชาการ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม การเงิน และการลงทุน จุดเน้นหลักคือการใช้การจัดการความรู้เพื่อให้เกิดนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมการทํางานในรูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม ซึ่งใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือหลักในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงขึ้นเกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลกที่นำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ อร่อย และสร้างสรรค์ มาสู่ลูกค้าทั่วโลกมาเป็นกว่า 45 ปี
ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของโลกและเป็นหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่าในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีเกินกว่า 141,000 ล้านบาท (4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และแรงงานทั่วโลกกว่า 44,000 คน ที่ทุ่มเทให้กับการบุกเบิกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่สร้างสรรค์และยั่งยืน
ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar, Hawesta และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ OMG MEAT เบลลอตต้า และมาร์โว่ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอาหารภายใต้แบรนด์ UniQ®BONE และ UniQ®DHA และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบรนด์ ZEAvita
ไทยยูเนี่ยนมีเป้าหมายเพื่อสร้าง "การมีสุขภาพที่ดี และท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์, Healthy Living, Healthy Oceans" โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพผู้คน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ท้องทะเล เราภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) พร้อมทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) และได้รับเกียรติเป็นเป็นประธาน SeaBOS หรือ Seafood Business for Ocean Stewardship ไทยยูเนี่ยนดำเนินงานด้านความยั่งยืนโดยยึดหลักกลยุทธ์ SeaChange® ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จากผลการประเมินงานด้านความยั่งยืนปี 2564 บริษัทได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่เป็นปีที่ 8 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานด้านความยั่งยืนของบริษัทได้ที่ seachangesustainability.orgเกี่ยวกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ("ไทยเบฟ") ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อ รวมกิจการ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยที่เป็นของผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนรายอื่นๆ เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี 2549 ไทยเบฟ ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) และภายหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขต ธุรกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปสู่ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหารเพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเพิ่ม ประสิทธิผล ในช่องทางการกระจายสินค้า รวมถึงกระจายความเสี่ยงของกิจการ ในปัจจุบันไทยเบฟไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำในประเทศไทย แต่ยังเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในเอเชียอีกด้วย โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารเกี่ยวกับดีลอยท์ดีลอยท์ให้บริการด้านการสอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการบริหารจัดการ ที่ปรึกษาความเสี่ยง ที่ปรึกษาทางการเงินที่ปรึกษาด้าน ภาษีและกฎหมาย ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนครอบคลุมอุตสาหกรรมต่างๆด้วยเครือข่ายบริษัทสมาชิกที่เชื่อมโยง กันมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ดีลอยท์ผสานความสามารถและบริการที่มีคุณภาพระดับโลกรวมถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจ ที่ซับซ้อนให้กับลูกค้า
ดีลอยท์ ประเทศไทย มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีจำนวนพนักงานประมาณ 1,500 คน และพาร์ทเนอร์มากกว่า 50 คน
ดีลอยท์ประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี 1939 เป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีบริษัทแรกในประเทศ ด้วยประสบการณ์ในเชิงลึกและมี ทรัพยากรที่มีคุณภาพ ดีลอยท์ประเทศไทยได้ให้บริการในประเทศไทยในหลากหลายอุตสาหกรรมและภาคส่วนมาแล้วมากกว่า 80 ปี การ ร่วมทำงานเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์จากการผนวกความเชี่ยวชาญและทักษะจากประเทศ สมาชิก
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยมหิดลมีต้นกำเนิดมาจากการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชในปี พ.ศ. 2431 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และโรงเรียนแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราชก็เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยสถาบันแห่งนี้ยัง เปิดสอนหลักสูตรในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมไปถึงหลักสูตรระดับปริญญาเอกส่วนใหญ่ในประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความเป็นเลิศดั้งเดิมในด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์เอาไว้
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอิสระ การเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของมหาวิทยาลัย และสร้างมาตรฐานการปฏิบัติกับมหาวิทยาลัย ระดับโลกอื่น ๆ เป้าหมายสูงสุดคือการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยอาศัยการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในอันดับที่ 1 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับสถาบัน ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมากมายเกี่ยวกับ RISERISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ที่มีภารกิจหลักคือการเพิ่ม 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Domestic Product) ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ RISE โดยทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ผ่าน 4 แพลตฟอร์มที่ RISE ออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม ได้แก่ Corporate Innovation Consulting & Accelerator, RISE University & People Transformation, กองทุน SeaX Ventures และ Athena - Knowledge Sharing Platform โดยตลอดกว่า 5 ปีที่ผ่านมา RISE ได้สร้างระบบนิเวศด้านนวัตกรรมองค์กรผ่านเครือข่ายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรชั้นนำกว่า 500 แห่งในเอเชีย สตาร์ทอัพกว่า 20,000 ราย และคอมมิวนิตี้ด้านนวัตกรรมในอีก 40 ประเทศทั่วโลก