"คนไทยทำได้" หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุด และมีแรงดันสูงสุด ผลิตโดยฝีมือคนไทย
ให้กับ กฟผ. เสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของประเทศ
ความมีเสถียรภาพ และความมั่นคงในการจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่รากหญ้า ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ซึ่งความมั่นคงในระบบการจ่ายไฟฟ้าถือเป็นหัวใจสำคัญหลัก โดยเฉพาะ "หม้อแปลงไฟฟ้า" และเป็นหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ 333.33 MVA 525 kV ที่สามารถผลิตได้แล้วโดยฝีมือคนไทย โดยบริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน)
นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TRT ผู้ผลิต จำหน่าย และซ่อมบำรุง หม้อแปลงไฟฟ้าทุกขนาดของคนไทยเพียงแห่งเดียว เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตจำหน่าย และให้บริการครบวงจร เกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าในภาคพื้นเอเชีย และโอเชียเนีย โดยเฉพาะในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ 333.33 MVA 525 kV ที่บริษัทสามารถพัฒนาในการผลิต และติดตั้งให้กับสถานีไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าต่าง ๆและเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับคำซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 333.33 MVA 525 kV ในโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร โดยโครงการดังกล่าว เป็นการเสริมความมั่นคงของระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ในระดับ 500 kV Main Grid เพื่อรองรับโครงการพลังงานหมุนเวียนในอนาคตของประเทศ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งรองรับโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพรวมกันทั้งหมดประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ ตามแผนการพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก
โดยในคำสั่งซื้อดังกล่าว ได้นำหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 333.33 MVA 525/230/22kV 1Phase จำนวน 6 ยูนิต และยังมีหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 200 MVA 230/115/22kV 3Phase อีกจำนวน 2 ยูนิต ในการติดตั้งใช้งานที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 โดยได้จ่ายไฟฟ้าเปิดการใช้งานครั้งแรก เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา และยังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบันนายสัมพันธ์ กล่าวอีกว่า สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 เป็นสถานีไฟฟ้าเดียวที่ใช้หม้อแปลงถิรไทยทั้งสถานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า และเป็นการเพิ่มศักยภาพของระบบส่งไฟฟ้า รองรับการเชื่อมต่อของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ไปยังศูนย์กลางความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคกลาง และเขตกรุงเทพมหานคร อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าของประเทศของ กฟผ. ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอีกด้วย
"ถิรไทย ต้องขอขอบพระคุณ กฟผ. ที่ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนใช้หม้อแปลงไฟฟ้าของไทยตลอดมา จนทำให้อุตสาหกรรมการผลิตหม้อแปลงของไทยมีขีดความสามารถสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังช่วยลดการพึ่งพานำเข้าหม้อแปลงจากต่างประเทศ และยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีก ช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศได้มากกว่าหมื่นล้านบาทต่อปีอีด้วย "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยรอด" นายสัมพันธ์ กล่าวทิ้งท้าย