วช. หนุน มศว.วิจัยสำเร็จชุดตรวจหาเชื้อเล็ปโตสไปรา ใช้เทคโนฯ “ไบโอเซ็นเซอร์” เร็ว แม่นยำลดโรคฉี่หนู
ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไบโอเซ็นเซอร์ แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินโครงการการพัฒนาชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบเพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อเล็ปโตสไปรา ที่ก่อโรคฉี่หนู เนื่องจากโรคเล็ปโตสไปโรซิส ก่อให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งในคนที่ติดเชื้อบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มเล็ปโตสไปรา สายพันธุ์ Leptospira interrogans ซึ่งพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ การวินิจฉัยเชื้อจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่เป็นรังโรค เช่น เลือด น้ำเหลืองและปัสสาวะ สิ่งส่งตรวจจากสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ด้วยวิธี MAT (micros copic agglutination test) และ IFA (immuno fluoresent assay) เป็นวิธีที่ใช้ทั่วไปในห้อง ปฏิบัติการเพราะ ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีราคาถูก อย่างไรก็ตามทั้ง 2 วิธี ยังมีข้อจำกัดด้านความ แม่นยำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการวางแผนรักษา ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ปัจจุบันมีชุดทดสอบในการตรวจพันธุกรรมเชื้อเล็ปโตสไปรา โดยอาศัยวิธีการ Polymerase Chanin Reaction หรือ PCR ซึ่งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไบโอเซ็นเซอร์ แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินโครงการการพัฒนาชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบเพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อเล็ปโตสไปรา ที่ก่อโรคฉี่หนู เนื่องจากโรคเล็ปโตสไปโรซิส ก่อให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งในคนที่ติดเชื้อบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มเล็ปโตสไปรา สายพันธุ์ Leptospira interrogans ซึ่งพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ การวินิจฉัยเชื้อจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่เป็นรังโรค เช่น เลือด น้ำเหลืองและปัสสาวะ สิ่งส่งตรวจจากสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ด้วยวิธี MAT (micros copic agglutination test) และ IFA (immuno fluoresent assay) เป็นวิธีที่ใช้ทั่วไปในห้อง ปฏิบัติการเพราะ ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีราคาถูก อย่างไรก็ตามทั้ง 2 วิธี ยังมีข้อจำกัดด้านความ แม่นยำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการวางแผนรักษา ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ปัจจุบันมีชุดทดสอบในการตรวจพันธุกรรมเชื้อเล็ปโตสไปรา โดยอาศัยวิธีการ Polymerase Chanin Reaction หรือ PCR ซึ่งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ“ชุดทดสอบฯ หรือ “Rapid Leptospira DNA strip test” ใช้กระบวนการเพิ่มขยายจำนวนพันธุกรรมเฉพาะจุดของเชื้อเล็ปโตสไปรา พร้อมกับกระบวนการดีเอ็นเอตรวจจับ โดยใช้อุณหภูมิเดียวในระยะเวลาประมาณ 20 นาที หลังจากนั้นหยดส่วนผสมลงบนแผ่นทดสอบและอ่านผลเป็นแถบสี จากการศึกษาพบว่า “Rapid Leptospira DNA strip test” สามารถตรวจพบเชื้อเล็ปโตสไปราในปริมาณปนเปื้อนน้อยกว่า 1 ตัว และมีความจำเพาะสูงโดยไม่เกิดการจับกับเชื้อก่อโรคชนิดอื่นๆ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวสามารถนำชุดทดสอบนี้ไปใช้ในโรงพยาบาล สถานอนามัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจโรค และลดขั้นตอนพร้อมทั้งเครื่องมือที่ยุ่งยาก นอกจากนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจวิเคราะห์โรคเล็ปโตสไปโรซิสนอกสถานที่ได้ ในเขตชุมชนที่ห่างไกลได้ จึงเหมาะเป็นวิธีที่ใช้ในการตรวจเพื่อเฝ้าระวังโรค ควบคุมโรค ป้องกันโรค และรักษาให้ผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที” ศ.ดร.โกสุมกล่าว.