ยูนิไทยชิปยาร์ดฯ รับรางวัลสถานประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 จากโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
รางวัล CSR-DIW Continuous Award เป็นรางวัลสำหรับสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 348 โรงงาน เข้าร่วมรับรางวัลในปีนี้ซึ่งยูนิไทยชิปยาร์ดฯ เป็น 1 ในผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 โดยจัดพิธีมอบรางวัลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในวันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 โดยมี นายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวัชร์ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และนายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธี ดร.อรรถสิทธิ์ กอชัยพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิไทยชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด ยังคงมุ่งมั่นให้ความสำคัญและตระหนักถึง การดำเนินธุรกิจ และชุมชนต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน คือ สิ่งที่บริษัทยูนิไทยชิปยาร์ดฯ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด
นอกจากความมุ่งมั่นในการให้บริการที่มีคุณภาพ จนเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าชั้นนำทั้งใน และต่างประเทศแล้ว ยังให้ความสำคัญในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งทุกคนในองค์กรตั้งแต่ผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานทุกระดับมีความตระหนักในการทำงานบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย และมีความเจริญอย่างยั่งยืน การให้การสนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะเยาวชนผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพด้านช่างเครื่องยนต์ ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิก และช่างเชื่อมโลหะ ให้แก่เยาวชนในชุมชน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในความชำนาญด้านต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว และเพื่อก้าวต่อไปสู่ความสำเร็จในการศึกษา และการประกอบอาชีพในอนาคต และโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกของเยาวชนในเรื่องความปลอดภัย สุขอนามัย และการรักษาสิ่งแวดล้อม และยังร่วมกับชุมชนในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพช่างฯ และการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงเรียน ที่โรงเรียนวัดแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น เช่น โครงการฟื้นฟูป่าชายเลน สนับสนุนธุรกิจของชุมชนโดยการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรีในชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ ยังให้การส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่น โดยให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง