PRCA ประกาศมาสเตอร์แพลนของประเทศไทย พร้อมหนุนขาขึ้นอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ไทยทั้งภาคธุรกิจและสังคม
กรุงเทพ, ตุลาคม 2564 , สมาคมประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร หรือ PRCA เอเชียแปซิฟิก (Public Relations & Communications Association Asia Pacific) ได้ประกาศมาสเตอร์แพลนการดำเนินงานในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนอาชีพนักประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ในภาพรวมทั้งหมด
PRCA เป็นองค์กรด้านงานประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นตัวแทนของนักประชาสัมพันธ์กว่า 35,000 คนจาก 70 ประเทศทั่วโลก และเมื่อต้นปี 2021 PRCA ได้ประกาศเปิดสาขาในกรุงเทพมหานคร และนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เพิ่มเติมจากสาขาที่มีอยู่เดิมในกรุงลอนดอน สิงคโปร์ ดูไบ ฮ่องกง และกรุงบัวโนสไอเรส
PRCA ประเทศไทยจะเปิดรับสมาชิกจากองค์กรและบริษัทต่างๆ, เอเจนซี่, องค์กรไม่แสวงหากำไร, ตัวแทนภาครัฐ, สื่อมวลชน, นักสร้างสรรค์ Content ตลอดจนบุคคลผู้สนใจ และนักวิชาการ
แผนแม่บทของ PRCA ในประเทศไทยได้ถูกออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของ PRCA ในการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ที่มีความเป็นมืออาชีพ, มีจริยธรรม และมีความสำเร็จมากยิ่งขึ้น โดยวัตถุประสงค์ของ PRCA มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 3 ข้อเพื่อให้แน่ใจได้ว่าอุตสาหกรรม PR ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ระหว่างการบริการด้านการตลาดผ่านบริษัทและองค์กร ตามคำกล่าวของ คาริณ โลหิตนาวี ประธาน PRCA ประเทศไทย ที่เป็นผู้นำการดำเนินงานในปีแรกนี้“ที่ผ่านมา PR ได้รับความสำคัญมาโดยตลอด และยิ่งในปัจจุบัน PR ได้มีหน้าที่สำคัญในระดับบริหาร มากกว่าที่ผ่านมา” คาริณ โลหิตนาวี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Midas PR Group กล่าว “ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการจัดการชื่อเสียง, การสื่อสารในภาวะวิกฤต, การสื่อสารของพนักงาน, และการสร้างสรรค์ Content ล้วนแล้วแต่เป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับธุรกิจและองค์กรในวันนี้ PRCA ประเทศไทยจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนขาขึ้นของอุตสาหกรรมและพัฒนาโอกาสในการทำงานของนักประชาสัมพันธ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
วัตถุประสงค์แรกของ PRCA ในประเทศไทยคือการยกระดับวิธีการวัดผลงาน PR เราจะพบว่าบ่อยครั้งที่ PR Campaign ถูกวัดผลจากมาตรวัดที่ล้าสมัย ซึ่ง PRCA จะเข้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้าเพื่อให้การวัดผล PR มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับที่กว้างขวางมากขึ้น แม้ว่าการวัดผลของ PR ไม่ได้มีแค่แนวทางเดียว แต่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการใช้ Advertising Value Equivalency (AVE หรือที่นักประชาสัมพันธ์เรียกว่า PR Value) ในการวัดผลก็ไม่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมอีกต่อไป
วัตถุประสงค์ที่สอง เพื่อมอบโอกาสในการพัฒนานักประชาสัมพันธ์ผ่านการสัมมนา และฝึกอบรม รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มในการแบ่งปันข้อมูล และการค้นคว้าวิจัยเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์
วัตถุประสงค์ที่สาม เพื่อเตรียมความพร้อมของคนทำงานประชาสัมพันธ์ยุคต่อไป เพื่อความสำเร็จและการเติบโตในเส้นทางอาชีพ“PR เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตในประเทศไทย และยังเป็นงานที่มอบโอกาสให้คนทำงานรุ่นใหม่ได้รับรางวัลเพื่อเติมเต็มผลสำเร็จในหน้าที่การงาน” ทารา มิวนิส, หัวหน้า PRCA เอเชียแปซิฟิก กล่าว “ในท้ายที่สุด บุคคลากรด้าน PR จะไม่ใช่แค่นักสื่อสาร แต่ PR ยังผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจอีกด้วย และในวันที่การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรสำคัญอย่างเช่นวันนี้ นักเรียนที่ดีที่สุด และเก่งที่สุดควรจะพิจารณาอาชีพในสายงานประชาสัมพันธ์ “
ในประเทศไทย สมาชิกรุ่นก่อตั้งของ PRCA ประกอบไปด้วยเอเจนซี่ประชาสัมพันธ์ชั้นนำ เช่น ABM Connect, Hill+Knowlton Strategies, Midas PR, Moonshot Digital, MSL และ Vero
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ผู้นำของ PRCA ประเทศไทยจะประกาศแผนงานและกำหนดการกิจกรรมที่จะกำลังจะเริ่ม เช่น โครงการมอบรางวัล, เวทีอภิปราย, งานอีเวนต์สำหรับผู้นำในอนาคต, การค้นคว้าวิจัย และอีเวนต์ทางด้านอาชีพ
นอกจาก คาริณ โลหิตนาวี แล้ว คณะกรรมการรุ่นก่อตั้งของ PRCA ประเทศไทย ยังรวมไปถึง บริษัท Moonshot Digital โดย จักรพงษ์ คงมาลัย ในฐานะ รองประธาน, บริษัท Vero โดย ภัทร์นีธิ์ จีริผาบ ในตำแหน่งเลขาธิการ, บริษัท MSL โดย วรศิษย์ ตุรงค์สมบูรณ์ ในตำแหน่งเหรัญญิก, บริษัท Hill+Knowlton Strategies โดย วชิรภรณ์ พรพิทยาเลิศ ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และบริษัท Vero โดย Brian Griffin ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการสื่อสาร และนอกจากนี้ยังมีหัวหน้าทีมประสานงานวิชาการได้แก่ วรศิษย์ ตุรงค์สมบูรณ์ จาก MSL พร้อมด้วยคุณเสรี ศิรินพวงศากร และ สุวิมล เดชอาคม จาก ABM Connect