happy on August 03, 2021, 11:31:02 PM
BIDC 2021 ฝ่าวิกฤตโควิด-19
ตอบโจทย์วิถี New Normal หนุนเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโต
คาดมูลค่าตลาดรวมปี 64 แตะ 39,000 ล้านบาท
ในภาพเรียงจากซ้ายไปขวา
1.นายพิชิต วีรังคบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) CEA
2.นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES)
3.ดร. สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์
4.นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการสายงานธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) TCEB
5.ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย นายกสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ BASAและผู้แทนภาคอุตสาหกรรมภาคอุตสาหกรรมฯ ผนึกภาครัฐ ฝ่าวิกฤตโควิดและตอบโจทย์วิถี New Normal เปิดงานมหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ “Bangkok International Digital Content Festival 2021” หรือ BIDC 2021 ครั้งที่ 8 ในรูปแบบออนไลน์เต็มสูบ โดยมีกิจกรรมเสวนาออนไลน์ ที่มาเติมเต็มความรู้จากวิทยากรชั้นนำระดับโลกและไทย พร้อมเปิดเวทีจับคู่เจรจาการค้าระหว่างผู้ประกอบการไทย-เทศรวม 93 บริษัท และมอบรางวัล BIDC AWARDS ให้แก่ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ที่มีผลงานโดดเด่นในรอบปี เชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ในภาพรวมยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการจัดงาน BIDC ยังสร้าง GDP มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 10,700 ตำแหน่งงาน งาน BIDC 2021 จึงเป็นการผนึกพลังความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างศักยภาพในเวทีระดับโลกผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัยนายกสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ และผู้แทนภาคอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีการปรับตัวเพื่อเดินหน้าธุรกิจเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ซึ่งจากการคาดการณ์อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยและบิ๊กดาต้าในปี 2563 จะมีการเติบโตต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์จะขยายตัวขึ้นอีก 10.1% คิดเป็นมูลค่าอุตสาหกรรมฯ รวม 34,229 ล้านบาท เที่ยบกับปี 2562 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 11.51% คิดเป็นมูลค่าอุตสาหกรรมฯ 31,080 ล้านบาท นอกจากนี้ในปี 2564 มีการคาดการณ์มูลค่าอุตสาหกรรม อยู่ที่ 39,000 ล้านบาท เติบโต 15% และในปี 2565 คาดการณ์มูลค่าอุตสาหกรรม อยู่ที่ 45,094 ล้านบาทและเติบโต 15% ซึ่งมีการเติบโตทั้งในส่วนแอนิเมชั่น เกมและคาแรคเตอร์ อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจและคาดการณ์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกับสถาบันไอเอ็มซี ทั้งนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ในภาพรวมยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับอัตราการเติบโตข้างต้น รวมทั้งผู้ประกอบยังใช้ช่องทาง อีคอมเมิร์ซเข้ามาตอบโจทย์ในยุคดิจิทัลในการจำหน่ายสินค้าต่างๆ อีกทั้งยังมองว่ายังเป็นการเพิ่มโอกาสของอุตสาหกรรมฯ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับการขยายการเติบโตในอนาคต อาทิ กลุ่มอีเลิร์นนิงที่ยูสเซอร์ได้มีแพลตฟอร์มการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาคอนเทนท์ที่รองรับการเรียนรู้ใหม่ๆ และเข้าสู่การเรียนการสอนด้วยดิจิทัล 100% และในส่วนมหาวิทยาลัยมีการพัฒนาหลักสูตรด้านดิจิทัลคอนเทนท์ในสาขาต่างๆ เพื่อสร้างบุคลากรรองรับในอุตสาหกรรมฯ นี้ นอกจากนี้กลุ่มภาพยนตร์การถ่ายภาพในสตูใหญ่ก็ใช้ดิจิทัล สกรีนเข้ามาใช้ในการถ่ายทำ รวมทั้งการใช้แอนิเมชั่นมาพัฒนาต่อยอดการถ่ายทำโดยไม่ต้องไปสถานที่จริง ซึ่งช่วยให้ควบคุมต้นทุนได้อีกด้วย ทั้งนี้ในการจัดงานรูปแบบ Virtual Event ของ BIDC2021 ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นส่วนขับเคลื่อนให้การจัดกิจกรรมดำเนินต่อไปและเศรษฐกิจไม่หยุดชะงักล่าสุดภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ และภาครัฐเดินหน้าผนึกกำลังจัดงาน Bangkok International Digital Content Festival 2021 หรือ BIDC 2021 เป็นงานมหกรรมของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและความร่วมมือของภาคเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(CEA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(DEPA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์(DITP) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) (TCEB) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ โดยมี 5 สมาคม ได้แก่ สมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ (BASA) สมาคมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย (DCAT) สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย (e-LAT) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟแวร์เกมไทย (TGA) ซึ่งในครั้งนี้ได้มีพันธมิตรเข้าร่วมให้การสนับสนุนกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ (Webinar) คือ บริษัท ชินเอ เซอร์วิส จำกัด เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ในการสร้างเม็ดเงินและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ โดยการส่งเสริมและสนับสนุน รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยสู่เวทีระดับโลก นับเป็นการผนึกความร่วมมืออย่างบูรณาการระหว่างภาคอุตสาหกรรมฯและภาครัฐอย่างต่อเนื่องและได้รับการตอบรับอย่างมากตลอดการจัดงานสู่ปีที่ 8 ในครั้งนี้ โดยงานในปีนี้จัดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ทั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นและสร้างเศรษฐกิจประเทศให้แข็งแกร่งด้วยทางด้าน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ซึ่งเป็นองค์กรในการกำกับดูแลของกระทรวงฯ ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเล็งเห็นว่า การผนึกพลังร่วมกันของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์เป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเติบโตได้อย่างยั่งยืน และยังมีการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ New Normal ในขณะนี้ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังดำเนินต่อไปได้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ภายใต้สถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตมากขึ้น ประชาชนใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น มีทั้งกิจกรรมออนไลน์ที่ช่วยสร้างความบันเทิงและผ่อนคลาย เช่น เกมออนไลน์ ผนวกกับแรงหนุนจากการแข่งกีฬา E-Sport ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ผู้บริโภครับสื่อดังกล่าวได้หลายช่องทาง เช่น Netflix และ YouTube ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเป็นที่นิยม ซึ่งมีส่วนผลักดันและขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมบันเทิง รวมถึงธุรกิจด้านเกม แอนิเมชัน และคาแรคเตอร์เติบโตอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของอุตสาหกรรมอีเลิร์นนิงของไทยโควิด-19 ถือเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจด้านนี้ขยายตัว เนื่องจากทุกภาคส่วนรวมไปถึงประชาชน นักเรียน มีการปรับตัวและใช้การเรียนการสอน รวมไปถึงการทำงานผ่านรูปแบบ Online Live Streaming มากยิ่งขึ้น จึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้แก่อุตสาหกรรมดิจิทัลด้วยดร. สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในนามของกระทรวงพาณิชย์ ตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีความมุ่งมั่นและมีนโยบายที่จะผลักดันให้ดิจิทัลคอนเทนท์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวคิด “Creative Economy” และส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ (Digital Content Hub) เพื่อสอดคล้องกับนโยบาย 14 แผนงานประจำปี 2564 ของกระทรวงพาณิชย์ โดยได้ร่วมสนับสนุนการจัดงาน BIDC มาอย่างต่อเนื่องตลอด 8 ปี เพื่อสร้างเวทีเจรจาธุรกิจในยุคดิจิทัล นำร่องสู่การพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการส่งเสริมและขยายช่องทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ไทยสู่ตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาผลการเจรจาการค้าจากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย ในส่วนของแอนิเมชั่น คาแรคเตอร์ และเกม มีมูลค่ารวมกว่า 2,700 ล้านบาท และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งไทย ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสู่วิถีความปกติใหม่ หรือ New Normal จึงทำให้การจัดงาน BIDC 2021 ในกิจกรรมเจรจาธุรกิจเป็นรูปแบบออนไลน์เป็นปีที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีการจับคู่เจรจาธุรกิจมากกว่า 200 คู่และสร้างมูลค่าไม่น้อยกว่า 490 ล้านบาท โดยปีนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนท์ทั่วโลกเข้าร่วมเจรจาธุรกิจ จำนวน 36 บริษัท จาก 11 ประเทศ และมีผู้ประกอบการไทยร่วมเจรจาธุรกิจในครั้งนี้จำนวน 57 บริษัท ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนและผลักดันการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยให้เกิดความแข็งแกร่งเป็นที่ยอมรับบนเวทีการค้าโลก นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการสายงานธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ทีเส็บในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจในการสนับสนุนและพัฒนางานเทศกาลนานาชาติของไทยให้เติบโตในระดับนานาชาติ ได้สนับสนุนการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 โดยมุ่งเน้นให้งานนี้เป็นการรวมตัวประชุมของบุคคลากรในวงการธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 และจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้งานเทศกาลต่างๆ ต้องปรับตัวไปสู่การจัดงานเทศกาลรูปแบบใหม่ (New Normal) ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบออนไลน์ หรือ Hybrid ดังนั้น ทีเส็บจึงได้มีนโยบายให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีออนไลน์ในการจัดงาน เพื่อให้ยังคงสามารถจัดงานได้รวมถึงการรักษาฐานลูกค้าที่ดีของงานไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ตลอดจนการส่งเสริมและรักษาฐานอุตสาหกรรมการจัดงานอีเวนท์และเทศกาลตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ทีเส็บได้จัดเก็บข้อมูลการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน BIDC พบว่า งาน BIDC ได้สร้างผลทางเศรษฐกิจต่อรายได้ประชาชาติ (GDP) มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้ 233 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานกว่า 10,700 ตำแหน่ง ด้าน นายพิชิต วีรังคบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า CEA มีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้ขับเคลื่อนและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจของประเทศ งาน BIDC นี้ เพื่อแสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่โดดเด่นของไทย และในปีนี้ CEA ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมซึ่งสอดรับกับทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับงาน BIDC 2021 ในครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ภาครัฐและหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง รวมทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยที่มีเวทีแสดงศักยภาพ และความพร้อมของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ของไทยแก่ผู้ที่สนใจทั้งในระดับประเทศและระดับสากล พร้อมทั้งยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างองค์ความรู้ทักษะจำเป็นต่างๆ ผ่านงานสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการได้มาร่วมแสวงหาโอกาสและความร่วมมือผ่านการเจรจาธุรกิจทางระบบออนไลน์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์ ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยอย่างยั่งยืนทั้งนี้ ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย นายกสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ และผู้แทนภาคอุตสาหกรรม กล่าวเสริมปิดท้ายว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาร่วมงาน BIDC 2021 ณ กรุงเทพมหานครได้ ทางผู้จัดงานจึงได้จัดกิจกรรมออนไลน์เต็มรูปแบบ โดยได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง - 6 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ เพื่อให้อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมไฮไลท์ต่างๆ ยังอัดแน่นครบครันเหมือนทุกปี ดังนี้• 1 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม 2564 กิจกรรมเสวนาออนไลน์ (Webinar) โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างชาติ มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ กว่า 23 หัวข้อผ่านทางระบบ zoom meeting และถ่ายทอดสดในรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่ง www.facebook.com/bidc.fest • 3 สิงหาคม 2564 พิธีเปิดโครงการ Bangkok International Digital Content Festival 2021 ปีที่ 8 พร้อมการมอบรางวัลผลงานดีเด่น BIDC AWARDS ประจำปี 2021 ให้แก่ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ที่มีผลงานโดดเด่นในรอบปี โดยถ่ายทอดสด ในรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่าน www.facebook.com/bidc.fest และเว็บไซต์ www.bidcfest.com• 4-6 สิงหาคม 2564 การจัดเจรจาธุรกิจออนไลน์ ระหว่างผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ไทยและผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ชั้นนำจากทั่วโลกทั้งนี้การจัดงาน BIDC ต่อเนื่องมาสู่ปีที่ 8 ได้รับการตอบรับอย่างมากจากผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศโดยจากจำนวนผู้เข้าร่วมงานในทุกปีมากกว่า 287 บริษัท ซึ่งสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศจากอุตสาหกรรมฯ หลายพัน ล้านบาท อีกทั้งในปีนี้เป็นปีแรกที่ทาง CEA ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ถือเป็นจิ๊กซอร์สำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ละภาคส่วน พร้อมเชื่อมั่นในศักยภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทยจะเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยความร่วมมือและการส่งเสริมจากทุกภาคส่วน
« Last Edit: August 09, 2021, 03:28:42 PM by happy »
Logged